ทุกสิ่งอยู่ที่ใจ

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

นางวิสาขา มหาอุบาสิกา หญิงเบญจกัลยาณี หญิงที่มีความงาม 5 ประการ

นางวิสาขาเป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐีกับนางสุมนา เป็นหลานสาวของเมณฑกเศรษฐี  ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ ในครั้งนั้นแคว้นอังคะกับแคว้นมคธปกครองรวมกัน โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
                    เมื่อนางวิสาขาอายุได้ 7 ขวบ นางวิสาขาไปเฝ้าพระพุทธเจ้าฟังธรรมแล้วบรรลุโสดาปัตติผล เมณฑกเศรษฐีเองก็ได้ฟังธรรมแล้วบรรลุโสดาปัตติผลในภายหลัง
                     
มิคารเศรษฐีในกรุงสาวัตถีมีบุตรชื่อ ปุณณวัฒนกุมาร ซึ่งเจริญวัยแล้วบิดามารดาต้องการให้แต่งงาน แต่ปุณณวัฒนกุมารไม่ยอม บิดามารดาอ้อนวอนด้วยประการต่างๆ ปุณณวัฒนกุมาบอกว่าถ้าได้หญิงเบญจกัลยาณีก็จะยอมแต่งงาน หญิงเบญจกัลยาณี คือ หญิงที่มีความงาม 5 ประการคือ
                        1.ผมงาม คือ ผมดำสลวยเป็นเงางาม
                        2.เนื้องาม คือ ริมฝีปากงาม
                        3.กระดูกงาม คือ ฟันขาวงามเป็นระเบียบ
                        4.ผิวงาม คือ ผิวเกลี้ยงเกลางามไม่มีไฝฝ้า
                        5.วัยงาม คือมีความงามเหมาะสมกับวัยของตน
 มิคารเศรษฐีส่งพราหมณ์ไปแสวงหาหญิงเบญจกัลยาณีในเมืองต่างๆ ไปพบนางวิสาขาซึ่งเป็นหญิงเบญจกัลยาณีที่เมืองสาเกต จึงจัดพิธีแต่งงานกัน ธนัญชัยเศรษฐีบิดาของนางวิสาขาให้ของขวัญวันแต่งงานเป็นเครื่องประดับราคาแพงมาก เรียกว่า มหาลดาปสาธน์ และก่อนจะส่งนางวิสาขาไปกรุงสาวัตถี ธันญชัยเศรษฐีได้ให้โอวาท 10 ประการ เป็นปริศนา  ซึ่งมิคารเศรษฐีได้ยินเพราะอยู่ในห้องติดกัน
                    โอวาท 10 ประการนั้นมีดังนี้
                        1) ไฟในไม่ควรนำออก
                        2) ไฟนอกไม่ควรนำเข้า

                        3) ควรให้แก่ผู้ให้
                        4) ไม่ควรให้แก่ผู้ไม่ให้
                        5) ควรให้แก่ผู้ให้บ้างแก่ผู้ไม่ให้บ้าง
                        6) ควรนั่งให้เป็นสุข
                        7) ควรบริโภคให้เป็นสุข 8) ควรนอกให้เป็นสุข
                        9) ควรบูชาไฟ
                      10) ควรนอบน้อมเทวดาภายใน
                    นางวิสาขาเมื่อไปอยู่ในตระกูลของปุณณวัฒนกุมารแล้ว มีความอึดอัดมาก เพราะในตระกูลนี้มิได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่นับถือศาสนาของนิครนถนาฏบุตรซึ่งเป็นนักบวชเปลือยกาย และมักจะเชื้อเชิญมาเลี้ยงเสมอ นางวิสาขามีความละอายไม่กล้าออกมากราบไหว้ เป็นที่ตำหนิของมิคารเศรษฐี วันหนึ่งมีพระภิกษุรูปหนึ่งออกบิณฑบาตผ่านมาทางบ้านของมิคารเศรษฐี เวลานั้นนางวิสาขากำลังปรนนิบัติมิคารเศรษฐีซึ่งบริโภคอาหารอยู่ เศรษฐีทำเฉยเสียไม่สนใจว่ามีพระภิกษุยืนรอรับบิณฑบาต นางวิสาขาได้ออกอุบายต่างๆ ให้มิคารรเศรษฐีหนไปเห็นพระภิกษุรูปนั้น แต่ไม่สำเร็จ นางจึงเดินมายังภิกษุแล้วกล่าวกับภิกษุว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิดพระคุณเจ้า ท่านมิคารเศรษฐีกำลังบริโภคของเก่าอยู่ เศรษฐีได้ยินก็โกรธเป็นอันมาก ไล่ให้นางกลับไปยังบ้านเดิมของตน แต่นางได้ของให้มีการพิจารณาเสียก่อน จึงเชิญพราหมณ์พี่เลี้ยงของนางมา แล้วแก้กล่าวหาต่างๆ มิคารเศรษฐีได้กล่าวหาเรื่องนางวิสาขาพูดว่าเศรษฐีบริโภคของเก่าสกปรก นางก็แก้ว่าของเก่านั้นคือบุญเก่าที่บิดามิคารเศรษฐีสั่งสมไว้ให้ซึ่งจะต้องหมดไปในวันข้างหน้า    

 ถ้ามิคารเศรษฐีไม่สั่งสมบุญใหม่ มิคารเศรษฐีได้กล่าวหาเรื่องที่บิดาของนางสั่งเสีย ข้อความอันไม่ถูกต้องเป็นปริศนา 10 ข้อ นางก็แก้ข้อกล่าวหาได้ดังนี้
                    1) ไฟในไม่ควรนำออก หมายความว่า เห็นความผิดของบิดามารดาสามี และของสามี  แล้วไม่ควรนำไปพูดในภายนอก
                    2) ไฟนอกไม่ควรนำเข้า หมายความว่า ได้ฟังคนอื่นพูดถึงความผิดของบิดามารดสามี และของสามีไม่ควรนำไปเล่าให้คนทั้ง 3 ฟัง
                    3) ควรให้แก่ผู้ให้ หมายความว่า ใครยืมของแล้วส่งคืน ควรให้ยืมอีก
                    4) ไม่ควรให้แก่ผู้ไม่ให้ หมายความว่า ใครยืมของแล้ว ไม่ส่งคืนไม่ควรให้ยืมอีก
                    5) ควรให้แก่ผู้ให้บ้าง แก่ผู้ไม่ให้บ้าง หมายความว่า สำหรับญาติมิตรที่ขัดสน ยืมของแล้ว จะส่งคืนหรือไม่ส่งคือ ก็ควรให้ยืมอีก
                    6) ควรนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนั่งในที่จะต้องลุกขึ้นเมื่อเห็นพ่อสามี แม่สามีและสามี
                    7) ควรบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่บริโภคก่อนพ่อสามี แม่สามี และสามี ทราบว่าคนเหล่านั้นบริโภคแล้ว ตนเองจึงบริโภคในภายหลัง
                   8) ควรนอกให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นอนก่อนพ่อสามี แม่สามี สามี ปฏิบัติสิ่งที่ควรปฏิบัติแก่คนเหล่านั้นแล้ว จึงนอนในภายหลัง
                    9) ควรบูชาไฟ หมายความว่า เห็นพ่อสามี แม่สามี และสามี เป็นดังกองไฟที่พวกพรามหณ์บูชา
                  10) ควรนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า เห็นพ่อสามี แม่สามี และสามี เป็นดังเทวดาที่ควรนอบน้อม
                เมื่อแก้ข้อกล่าวหาจนตนเองพ้นผิดหมดแล้ว นางวิสาขาก็จะออกจากบ้านเศรษฐีไป เศรษฐีขอโทษที่เข้าใจผิด ของให้นางอยู่ต่อไป นางวิสาขาจึงขอทำบุญในพระพุทธศาสนา
                โดยนิมนต์พระพุทธเจ้ามาเสวยภัตตาหาร เมื่อถึงเวลาฟังธรรม นางวิสาขาให้คนไปเชิญพ่อสามีมาฟังธรรม เศรษฐีนั่งฟังอยู่นอกม่านตามคำของร้องของนักบวชชีเปลือย ขณะที่กำลังฟังธรรมอยู่นั้นเศรษฐีบรรลุโสดาปัตติผล แล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยใกล้ชิด   ตั้งแต่นั้นมา นางวิสาขาก็ทำบุญต่างๆ มีการถวายทาน เป็นต้น และได้สร้างอารามแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี คือ วัดบุพพาราม นอกจากนี้นางวิสาขายังเป็นต้นเรื่องของการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุผู้เข้าพรรษา เพราะนางทราบว่าภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนไม่เหมาะสม  ดูเป็นชีเปลือย จึงขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุ  นางวิสาขาเป็นพุทธสาวิกาที่มั่นคงในพระรัตนตรัยมาก ไปวัดเพื่อฟังธรรมทุกวันมิได้ขาด หลังจากฟังธรรมแล้วมักจะเดินตรวจรอบวัด เพื่อซักถามพระภิกษุรูปใดมีความประสงค์   สิ่งใดจะได้ช่วยจัดหามาถวาย โดยนางได้ขอพรจากพระพุทธเจ้า 8 ประการ และพระองค์ก็ทรงประทานให้พร 8 ประการคือ
                    1) ขอให้ได้ถวายอาหารแก่พระอาคันตุกะ
                    2) ขอให้ได้ถวายอาหารแก่ภิกษุจะเดินทางไกล
                    3) ขอให้ได้ถวายอาหารแก่ภิกษุที่เป็นไข้
                    4) ขอให้ได้ถวายอาหารแก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุที่เป็นไข้
                    5) ขอให้ได้ถวายยาแก่ภิกษุ
                    6) ขอให้ได้ถวายข้าวยาคูแก่พระสงฆ์ประจำ
                    7) ขอให้ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุ
                    8) ขอให้ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุณี
                นางวิสาขาได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะ (เลิศกว่าผู้อื่น)
 ในด้านการถวายทาน มีอายุยืนยาวถึง 120 ปี มีบุตรชาย 10 คน   บุตรสาว 10 คน   เป็นสาวิกาที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาที่สำคัญคนหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น