ทุกสิ่งอยู่ที่ใจ

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

อีคิว



อีคิว หรือ E.Q. มาจากคำว่า Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์
ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถทางอารมณ์ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
อีคิว ถือเป็นเรื่องใหม่ในแวดวงการศึกษาและจิตวิทยา เพราะเพิ่งได้รับความสนใจและยอมรับในความสำคัญอย่างจริงจังเมื่อ ๑๐ กว่าปีมานี้ เดิมเคยเชื่อกันว่า ความสามารถทางเชาวน์ปัญญาหรือไอคิว คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จ มีชีวิตที่ดีและมีความสุข
ต่อมา นักจิตวิทยาเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อความเชื่อความเข้าใจดังกล่าว เพราะไม่เชื่อว่าความสำเร็จและความสุขในชีวิตของคน ๆ หนึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถทางเชาวน์ปํญญาแต่เพียงอย่างเดียว แต่เนื่องจากในระยะนั้นยังไม่มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่เพียงพอ ความคิดนี้จึงถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย
จนกระทั่ง ในปีค.ศ.๑๙๙๐ ซาโลเวย์และเมเยอร์ สองนักจิตวิทยาได้นำความคิดนี้มาพูดถึงอีกครั้ง โดยเอ่ยถึงความฉลาดทางอารมณ์ เป็นครั้งแรกว่า "เป็นรูปแบบหนึ่งของความฉลาดทางสังคมที่ประกอบด้วยความสามารถในการรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง และผู้อื่นสามาารถแยกความแตกต่างของอารมณ์ที่เกิดขึ้น และใช้ข้อมูลนี้เป็นเครื่องชี้นำในการคิดและกระทำสิ่งต่าง ๆ"





จากนั้น แดเนียล โกลแมน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ก็สานต่อแนวคิดนี้อย่างจริงจังโดยได้เขียนเป็นหนังสือเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) และได้ให้ความหมายของอีคิวว่า "เป็นความสามารถหลายด้าน ได้แก่ การเร่งเร้าตัวเองให้ไปสู่เป้าหมาย มีความสามารถควบคุมความขัดแย้งของตนเอง รอคอยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถจัดการกับอารมณ์ไม่สบายต่าง ๆ มีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง"

หลังจาก หนังสือความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ของแดเนียล โกลแมน ออกสู่สาธารณชน ผู้คนก็เริ่มให้ความสนใจกับความฉลาดทางอารมณ์มากขึ้น ประกอบกับระยะหลังมีงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์
อีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ จึงได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จและความสุขในชีวิตมนุษย์ กลายเป็นเรื่องฮิตที่มาแรงแซงหน้าไอคิวไปในระยะหลัง

นอกจากคำว่า Emotional Quotient ที่เราเรียกว่า อีคิวแล้ว ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่นักวิชาการใช้ในความหมายใกล้เคียงกัน เช่น
Emotional Intelligence
Emotional Ability
Interpersonal Intelligence
Multiple Intelligence
กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแนวคิดเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ ที่ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ ๓ ประการคือ
๑. ความดี
๒. ความเก่ง
๓. ความสุข

ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
- รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง
- ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้
- แสดงออกอย่างเหมาะสม
ความสามารถในการเห็นใจผู้อื่น
- ใส่ใจผู้อื่น
- เข้าใจและยอมรับผู้อื่น
- แสดงความเห็นใจอย่างเหมาะสม
ความสามารถในการรับผิดชอบ
- รู้จักการให้ รู้จักการรับ
- รู้จักรับผิด รู้จักให้อภัย
- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ความสามารถในการรู้จักและสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง
- รู้ศักยภาพของตนเอง
- สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้
- มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย
ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
- รับรู้และเข้าใจปัญหา
- มีขั้นตอนในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- มีความยืดหยุ่น
ความสามารถในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
- รู้จักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
- กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
- แสดงความเห็นที่ขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์
สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข มีความภูมิใจในตนเองพอใจในชีวิต และมีความสุขสงบทางใจ
ความภูมิใจในตนเอง
- เห็นคุณค่าในตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
ความพึงพอใจในชีวิต
- รู้จักมองโลกในแง่ดี
- มีอารมณ์ขัน
- พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
ความสงบทางใจ
- มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข
- รู้จักผ่อนคลาย
- มีความสงบทางจิตใจ
ความฉลาดทางอารมณ์ = เข้าใจตนเอง + เข้าใจผู้อื่น + แก้ไขความขัดแย้งได้
เข้าใจตนเอง ---> เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการในชีวิตของตนเอง
เข้าใจผู้อื่น ---> เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถแสดงออกมาได้อย่างเหมาะสม
แก้ไขความขัดแย้งได้ ---> เมื่อมีปัญหาสามารถแก้ไขจัดการให้ผ่านพ้นไปได้อย่างเหมาะสมทั้งปัญหาความเครียดในใจ หรือปัญหาที่เกิดจากการขัดแย้งกับผู้อื่น 


นางวิสาขา มหาอุบาสิกา หญิงเบญจกัลยาณี หญิงที่มีความงาม 5 ประการ

นางวิสาขาเป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐีกับนางสุมนา เป็นหลานสาวของเมณฑกเศรษฐี  ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ ในครั้งนั้นแคว้นอังคะกับแคว้นมคธปกครองรวมกัน โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
                    เมื่อนางวิสาขาอายุได้ 7 ขวบ นางวิสาขาไปเฝ้าพระพุทธเจ้าฟังธรรมแล้วบรรลุโสดาปัตติผล เมณฑกเศรษฐีเองก็ได้ฟังธรรมแล้วบรรลุโสดาปัตติผลในภายหลัง
                     
มิคารเศรษฐีในกรุงสาวัตถีมีบุตรชื่อ ปุณณวัฒนกุมาร ซึ่งเจริญวัยแล้วบิดามารดาต้องการให้แต่งงาน แต่ปุณณวัฒนกุมารไม่ยอม บิดามารดาอ้อนวอนด้วยประการต่างๆ ปุณณวัฒนกุมาบอกว่าถ้าได้หญิงเบญจกัลยาณีก็จะยอมแต่งงาน หญิงเบญจกัลยาณี คือ หญิงที่มีความงาม 5 ประการคือ
                        1.ผมงาม คือ ผมดำสลวยเป็นเงางาม
                        2.เนื้องาม คือ ริมฝีปากงาม
                        3.กระดูกงาม คือ ฟันขาวงามเป็นระเบียบ
                        4.ผิวงาม คือ ผิวเกลี้ยงเกลางามไม่มีไฝฝ้า
                        5.วัยงาม คือมีความงามเหมาะสมกับวัยของตน
 มิคารเศรษฐีส่งพราหมณ์ไปแสวงหาหญิงเบญจกัลยาณีในเมืองต่างๆ ไปพบนางวิสาขาซึ่งเป็นหญิงเบญจกัลยาณีที่เมืองสาเกต จึงจัดพิธีแต่งงานกัน ธนัญชัยเศรษฐีบิดาของนางวิสาขาให้ของขวัญวันแต่งงานเป็นเครื่องประดับราคาแพงมาก เรียกว่า มหาลดาปสาธน์ และก่อนจะส่งนางวิสาขาไปกรุงสาวัตถี ธันญชัยเศรษฐีได้ให้โอวาท 10 ประการ เป็นปริศนา  ซึ่งมิคารเศรษฐีได้ยินเพราะอยู่ในห้องติดกัน
                    โอวาท 10 ประการนั้นมีดังนี้
                        1) ไฟในไม่ควรนำออก
                        2) ไฟนอกไม่ควรนำเข้า

                        3) ควรให้แก่ผู้ให้
                        4) ไม่ควรให้แก่ผู้ไม่ให้
                        5) ควรให้แก่ผู้ให้บ้างแก่ผู้ไม่ให้บ้าง
                        6) ควรนั่งให้เป็นสุข
                        7) ควรบริโภคให้เป็นสุข 8) ควรนอกให้เป็นสุข
                        9) ควรบูชาไฟ
                      10) ควรนอบน้อมเทวดาภายใน
                    นางวิสาขาเมื่อไปอยู่ในตระกูลของปุณณวัฒนกุมารแล้ว มีความอึดอัดมาก เพราะในตระกูลนี้มิได้นับถือพระพุทธศาสนา แต่นับถือศาสนาของนิครนถนาฏบุตรซึ่งเป็นนักบวชเปลือยกาย และมักจะเชื้อเชิญมาเลี้ยงเสมอ นางวิสาขามีความละอายไม่กล้าออกมากราบไหว้ เป็นที่ตำหนิของมิคารเศรษฐี วันหนึ่งมีพระภิกษุรูปหนึ่งออกบิณฑบาตผ่านมาทางบ้านของมิคารเศรษฐี เวลานั้นนางวิสาขากำลังปรนนิบัติมิคารเศรษฐีซึ่งบริโภคอาหารอยู่ เศรษฐีทำเฉยเสียไม่สนใจว่ามีพระภิกษุยืนรอรับบิณฑบาต นางวิสาขาได้ออกอุบายต่างๆ ให้มิคารรเศรษฐีหนไปเห็นพระภิกษุรูปนั้น แต่ไม่สำเร็จ นางจึงเดินมายังภิกษุแล้วกล่าวกับภิกษุว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิดพระคุณเจ้า ท่านมิคารเศรษฐีกำลังบริโภคของเก่าอยู่ เศรษฐีได้ยินก็โกรธเป็นอันมาก ไล่ให้นางกลับไปยังบ้านเดิมของตน แต่นางได้ของให้มีการพิจารณาเสียก่อน จึงเชิญพราหมณ์พี่เลี้ยงของนางมา แล้วแก้กล่าวหาต่างๆ มิคารเศรษฐีได้กล่าวหาเรื่องนางวิสาขาพูดว่าเศรษฐีบริโภคของเก่าสกปรก นางก็แก้ว่าของเก่านั้นคือบุญเก่าที่บิดามิคารเศรษฐีสั่งสมไว้ให้ซึ่งจะต้องหมดไปในวันข้างหน้า    

 ถ้ามิคารเศรษฐีไม่สั่งสมบุญใหม่ มิคารเศรษฐีได้กล่าวหาเรื่องที่บิดาของนางสั่งเสีย ข้อความอันไม่ถูกต้องเป็นปริศนา 10 ข้อ นางก็แก้ข้อกล่าวหาได้ดังนี้
                    1) ไฟในไม่ควรนำออก หมายความว่า เห็นความผิดของบิดามารดาสามี และของสามี  แล้วไม่ควรนำไปพูดในภายนอก
                    2) ไฟนอกไม่ควรนำเข้า หมายความว่า ได้ฟังคนอื่นพูดถึงความผิดของบิดามารดสามี และของสามีไม่ควรนำไปเล่าให้คนทั้ง 3 ฟัง
                    3) ควรให้แก่ผู้ให้ หมายความว่า ใครยืมของแล้วส่งคืน ควรให้ยืมอีก
                    4) ไม่ควรให้แก่ผู้ไม่ให้ หมายความว่า ใครยืมของแล้ว ไม่ส่งคืนไม่ควรให้ยืมอีก
                    5) ควรให้แก่ผู้ให้บ้าง แก่ผู้ไม่ให้บ้าง หมายความว่า สำหรับญาติมิตรที่ขัดสน ยืมของแล้ว จะส่งคืนหรือไม่ส่งคือ ก็ควรให้ยืมอีก
                    6) ควรนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนั่งในที่จะต้องลุกขึ้นเมื่อเห็นพ่อสามี แม่สามีและสามี
                    7) ควรบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่บริโภคก่อนพ่อสามี แม่สามี และสามี ทราบว่าคนเหล่านั้นบริโภคแล้ว ตนเองจึงบริโภคในภายหลัง
                   8) ควรนอกให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นอนก่อนพ่อสามี แม่สามี สามี ปฏิบัติสิ่งที่ควรปฏิบัติแก่คนเหล่านั้นแล้ว จึงนอนในภายหลัง
                    9) ควรบูชาไฟ หมายความว่า เห็นพ่อสามี แม่สามี และสามี เป็นดังกองไฟที่พวกพรามหณ์บูชา
                  10) ควรนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า เห็นพ่อสามี แม่สามี และสามี เป็นดังเทวดาที่ควรนอบน้อม
                เมื่อแก้ข้อกล่าวหาจนตนเองพ้นผิดหมดแล้ว นางวิสาขาก็จะออกจากบ้านเศรษฐีไป เศรษฐีขอโทษที่เข้าใจผิด ของให้นางอยู่ต่อไป นางวิสาขาจึงขอทำบุญในพระพุทธศาสนา
                โดยนิมนต์พระพุทธเจ้ามาเสวยภัตตาหาร เมื่อถึงเวลาฟังธรรม นางวิสาขาให้คนไปเชิญพ่อสามีมาฟังธรรม เศรษฐีนั่งฟังอยู่นอกม่านตามคำของร้องของนักบวชชีเปลือย ขณะที่กำลังฟังธรรมอยู่นั้นเศรษฐีบรรลุโสดาปัตติผล แล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยใกล้ชิด   ตั้งแต่นั้นมา นางวิสาขาก็ทำบุญต่างๆ มีการถวายทาน เป็นต้น และได้สร้างอารามแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี คือ วัดบุพพาราม นอกจากนี้นางวิสาขายังเป็นต้นเรื่องของการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุผู้เข้าพรรษา เพราะนางทราบว่าภิกษุเปลือยกายอาบน้ำฝนไม่เหมาะสม  ดูเป็นชีเปลือย จึงขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุ  นางวิสาขาเป็นพุทธสาวิกาที่มั่นคงในพระรัตนตรัยมาก ไปวัดเพื่อฟังธรรมทุกวันมิได้ขาด หลังจากฟังธรรมแล้วมักจะเดินตรวจรอบวัด เพื่อซักถามพระภิกษุรูปใดมีความประสงค์   สิ่งใดจะได้ช่วยจัดหามาถวาย โดยนางได้ขอพรจากพระพุทธเจ้า 8 ประการ และพระองค์ก็ทรงประทานให้พร 8 ประการคือ
                    1) ขอให้ได้ถวายอาหารแก่พระอาคันตุกะ
                    2) ขอให้ได้ถวายอาหารแก่ภิกษุจะเดินทางไกล
                    3) ขอให้ได้ถวายอาหารแก่ภิกษุที่เป็นไข้
                    4) ขอให้ได้ถวายอาหารแก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุที่เป็นไข้
                    5) ขอให้ได้ถวายยาแก่ภิกษุ
                    6) ขอให้ได้ถวายข้าวยาคูแก่พระสงฆ์ประจำ
                    7) ขอให้ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุ
                    8) ขอให้ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุณี
                นางวิสาขาได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะ (เลิศกว่าผู้อื่น)
 ในด้านการถวายทาน มีอายุยืนยาวถึง 120 ปี มีบุตรชาย 10 คน   บุตรสาว 10 คน   เป็นสาวิกาที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาที่สำคัญคนหนึ่ง

มหาเศรษฐี มหาอุบาสก อนาถบิณฑิกเศรษฐี เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวให้กับคนยากจน


อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือ สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี เป็นชาวเมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล มีชีวิตร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า เดิมท่านมีนามว่าสุทัตตะเศรษฐี เกิดในตระกูลของสุมนะเศรษฐีผู้เป็นบิดา ท่านเป็นเศรษฐีที่ใจบุญ ชอบช่วยเหลือคนตกยาก ทำให้ท่านถูกเรียกจากชาวเมืองสาวัตถีว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี แปลว่า เศรษฐีผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก (แปลตามศัพท์ว่า เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวให้กับคนยากจน)
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ไปค้าขายและได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์จนบรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านจึงมีศรัทธาสร้างวัดเชตวันมหาวิหารถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเงินจำนวนมาก ท่านได้เป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อย่างดีมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่วัดพระเชตวันที่ท่านสร้างมากกว่าที่ประทับใด ๆ ถึง 19 พรรษ
เรื่องราวของอนาถบิณฑิกเศรษฐี มีปรากฏมากมายในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องราวที่แสดงถึงความศรัทธา ความมีสติปัญญา และความเอาใจใส่ในการบำรุงพระพุทธศาสนา ทำให้ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็น อุบาสกผู้เลิศในการเป็นผู้ถวายทาน (เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก)

พระโสณะและพระอุตตระ ผู้นำพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ 

พระโสณะและพระอุตตระด้เดินทางจากแคว้นมคธ เข้ามาประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะมีศูนย์กลางอยู่บริเวณตอนกลางของไทยในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น


พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในสมัยนี้ เป็นนิกายเถรวาทดั้งเดิม โดยพุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาเลื่อมใสบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมาก และได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้สักการะบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในประเทศอินเดียที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างขึ้น โดยศิลปะในยุคนี้ เรียกว่า ศิลปะทวารวดี




พระเจ้าอโศกมหาราช อัครมหาบุรุษหนึ่ง ใน 6 อัครมหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก


พระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่าง ๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนา

ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทระเถระทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณะทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณะทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
ต่อมาก็ทรงโปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณ ตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน4แห่ง เป็นผู้แรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมมาอโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้41ปี

ดำเนินรัฐศาสนโยบาย

ด้วยทรงถือหลักธรรมวิชัยปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์เป็นที่ตั้ง ทรงส่งเสริมสารธารณูปการ และประชาสงเคราะห์ ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในชมพูทวีปอย่างกว้างขวาง ได้เป็นบ่อเกิดอารยธรรมที่มั่งคงไพศาล อนุชนได้เรียกขานพระนามของพระองค์ด้วยความเคารพเทอดทูน ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์หลายองค์ที่พิชิตนานาประเทศด้วยสงคราม แม้พระนามของพระองค์ก็ปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน


อัครศาสนูปถัมภก

พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงเป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทาน ของฝ่ายมหายาน ใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นักถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่ง ให้แก่เชนศาสนิกชน เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา


ทรงเป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษ

เอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells) นักประวัติศาสตร์คนสำคัญในตะวันตกก็ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน 6 อัครมหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสเครติส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น




สัตว์ในเข่ง

      ในโลกนี้ ทุกคนช่างน่าสงสาร ต่างก็เกลียดทุกข์ ปรารถนาความสุขทั้งสิ้น เกิดมาแล้วต่างก็ต้องตาย จะตายอย่างไรก็ไม่รู้ จะตายทรมาน หรือตายสงบ ก็ไม่รู้ จะตายเมื่อไรก็ไม่รู้ แต่ชะตาเดียวกันกับเราทั้งสิ้น คือ ตายทุกคน ถ้าเขาได้ศึกษาพระธรรม เขาจะดำเนินชีวิตด้วยดีมีความสุขใจ ตายแล้วก็ไปดี ถ้าไม่ได้ศึกษา ไม่เชื่อถือ ชีวิตก็มีทุกข์ใจ ไม่ว่าทรัพย์สิน จะมากมายเพียงใด ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ ไปสู่ที่ไม่ดี อาจเป็นเปรต สัตว์ แม้แต่สัตว์นรก น่าสงสารทั้งนั้น ทั้งคนดี คนชั่ว เกิดมาแล้วช่างน่าสงสาร เหมือนสัตว์อยู่ในเข่งรอเดินทางไปโรงฆ่าสัตว์ ทุกคน

เมตตา คือ รักแท้ ของบิดา อินเดีย

          ความเมตตา คือ รักแท้ รักอื่นใดไม่อาจเทียบได้ เพราะความรักอื่นๆเจือด้วยความต้องการของตนเอง มีแต่เมตตา ที่ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขโดยไม่นึกถึงตนเอง ความเมตตา เป็นความรักแท้ของพระพุทธองค์   เป็นความรักแท้ของพระเยซูเจ้าที่มีต่อโลก และเป็นรักแท้ของพระศาสดาทั้งหลาย
      ครั้งหนึ่งท่าน มหาตมะ คานธี ได้โดยสารรถไฟที่เต็มไปด้วยชาวอินเดียที่ยากจน ท่านยืนเบียดเสียดอยู่ที่กระไดเพราะผู้โดยสารแน่นมาก เมื่อรถไฟแล่นด้วยความเร็ว ท่านได้เผลอทำรองเท้าแตะหลุดตกลงไปข้างหนึ่ง ท่านรีบสลัดอีกข้างตามไปทันที เมื่อมีคนถามว่า ทำไมท่านจึงทำเช่นนั้น ท่านตอบว่า "สงสารคนที่เก็บรองเท้าได้ข้างแรกข้างเดียว เขาคงจะต้องเดินตามรางรถไฟเพื่อหวังจะได้รองเท้าอีกข้าง หนึ่ง"
 
 ท่านคาดหวังได้ว่า เมื่อคนผู้นั้นเจอรองเท้าครบสองข้าง เขาคงจะเป็นสุขใจถึงเพียงไหน นี่คือ ความเมตตาของท่านมหาตมะ คานธี คือ ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข นี่คือ รักแท้ใช่หรือไม่ เป็นความรักของท่านที่มีต่อชาวอินเดียที่ยากจน ที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาจะเป็นใคร ความรักชนิดนี้เป็นความรักที่โลกต้องการ นี้คือ เมตตาธรรม เมตตาธรรมค้ำจุนโลก อย่างแท้จริง


  

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ทุกข์



๑. ทำให้เรา?เข้มแข็งขึ้น    ๒. ทำให้เรา?รู้ถึงค่าของความสุข    ๓. ทำให้เรา?มีความสามารถมากขึ้น    ๔. ทำให้เรา?มีสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้หายทุกข์    ๕. ทำให้เรา?มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหามากขึ้น    ๖. ทำให้เรา?มีความอดทนมากขึ้น    ๗. ทำให้เรา?มองโลกกว้างมากขึ้น    ๘. ทำให้เรา?เห็นได้ว่าใครคือคนที่เป็นที่พึ่งยามยากของเรา    ๙. ทำให้เรา?ได้รู้ว่ามีใครบ้างที่ห่วงเรา    ๑๐. ทำให้เรา?ได้รู้ว่าใครบ้างที่เป็นมิตรแท้ของเรา    ๑๑. ทำให้เรา?ได้รู้ว่าเพื่อนของเรามีความสามารถแค่ไหน    ๑๒. ทำให้เรา?ได้รู้ว่าใครมีความสามารถขนาดไหน    ๑๓. ทำให้เรา?ได้รู้ว่ามีคนไหนที่รักเราจริง    ๑๔. ทำให้เรา?ได้รู้ว่าการหัวเราะเป็นสิ่งจำเป็น ๑๕. ทำให้เรา?พยายามที่จะมองโลกในแง่ที่ดีมากขึ้น    ๑๖. ทำให้เรา?ค้นหาข้อดีของความทุกข์    ๑๗. ทำให้เรา?รู้ว่าความสุขจะมีค่ามากเพียงใด    ๑๘. ทำให้เรา?มีความระมัดระวังมากขึ้น    ฯลฯ

มิตร

     ในทางพุทธศาสนาจำแนกแยกแยะมิตรออกเป็น มิตรแท้กับมิตรเทียม โดยมีรายละเอียดของมิตรแท้มิตรเทียมไว้อย่างน่าสนใจ
ศาสนาพุทธแบ่ง มิตรแท้ ออกเป็น 4 คุณลักษณะ คือ
1. มิตรมีอุปการะ เมื่อได้ชื่อว่าเป็นมิตรกัน ต้องรู้จักแบ่งปันให้กันและกันบ้าง การแบ่งปันให้กันนี้ไม่ใช่แค่ให้สิ่งของสนองน้ำใจกันเล็ก ๆ น้อย ๆ คนที่กล้าพูดได้ว่าเป็นมิตรกันต้องพร้อมจะอุปการะมิตรเมื่อความจำเป็นในชีวิตเกิดขึ้น 
2. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข เมื่อเป็นมิตรแท้กัน ต้องพร้อมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลเห็นใจกันในยามทุกข์ ไม่ใช่พอมีทุกข์ก็ทิ้ง พอมีสุขก็วิ่งเข้าหา แบบนี้ไม่เรียกว่าเป็นมิตรแท้ต่อกัน
 3. มิตรแนะนำประโยชน์ 
ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในชีวิตของคนเรามีอยู่มากมายในหลายรูปแบบ ประโยชน์หลายอย่างก็แอบซ่อนอยู่โดยที่เราอาจไม่รู้ แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นมิตรแท้ต่อกันควรช่วยแนะนำสิ่งดี ๆ มีประโยชน์ให้กันและกัน เพื่อรังสรรค์สิ่งดี ๆ ให้มีขึ้นกับคนที่เรารักในฐานะมิตรแท้ ย่อมเพิ่มพูนความเป็นมิตรแท้ให้แน่นอนยิ่งขึ้น
 4. มิตรอนุเคราะห์ 
เป็นมิตรแท้ต่อกันถ้าไม่อนุเคราะห์เกื้อกูลกันบ้าง คงจะอ้างว่าเป็นมิตรแท้ของกันและกันไม่ได้ การอนุเคราะห์ไม่จำเป็นต้องรอให้มิตรเกิดเคราะห์แล้วจึงอนุเคราะห์ เราควรจะอนุเคราะห์เมื่อเราอยู่ในสถานะที่จะอนุเคราะห์ได้ ในสิ่งที่มิตรยังขาดหรืออาจไม่ต้องรอให้มิตรร้องขอ เพราะการอนุเคราะห์ สิ่งที่ขาดโดยไม่ได้ขอจะก่อเกิดความรักความผูกพันกันเพิ่มหลายเท่าพันทวี

  
          คุณลักษณะของมิตรเทียม (ศัตรูในร่างของมิตร)ดูบ้าง พุทธศาสนาวางไว้ 4 คุณลักษณะเช่นกัน คือ 
1. มิตรปอกลอก
คนประเภทนี้มักมีวิธีพูดจาหว่านล้อมให้เราหลงเชื่อว่า จะได้ประโยชน์แบบนี้แบบนั้น ที่แท้มีวาระซ่อนเร้นอยู่ในใจหวังได้ประโยชน์จากเรามากกว่า กว่าจะรู้ความจริงเราอาจหมดเนื้อหมดตัวไปแล้วก็ได้
 2. มิตรดีแต่พูด
ถ้าสังเกตดูให้ดีจะมีเพื่อนมิตรอยู่ประเภทหนึ่งที่ดีแต่พูด มีทั้งพูดสรรเสริญเยินยอเราเกินจริง พอ ๆ กับพูดติฉินนินทาเราลับหลังจนคนฟังเข้าใจผิดคิดว่าเราเป็นเช่นนั้นจริง ๆ
มิตรประเภทนี้ค่อนข้างอันตรายเพราะมักจะอยู่ข้างกาย เขาจะไม่พูดถึงขั้นทำลาย แต่ก็นับเป็นตัวอันตรายที่ควรห่างไกลไว้หน่อยก็ดี
 3. มิตรหัวประจบ
มิตรประเภทนี้จะทำดีกับเราทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เป็นการทำดีที่เรียกว่า “เว่อร์” ถ้าเราเซ่อซ่าบ้าจี้เห็นดีเห็นงามไปกับความกล้าประจบประแจงแสร้งทำของคนประเภทนี้ ก็อาจจะถูกชี้นำให้เราถลำทำอะไรไปผิด ๆ โดยคิดว่าทำถูกเพราะมีลูกยุจากคนที่เป็นมิตรเทียม ควรเตรียมตัว เตรียมใจอยู่ห่างไว้หน่อยก็ดี
 4. มิตรชวนไปในทางเสียหาย
ความหมายของมิตรที่มีคุณลักษณะแบบนี้ แทบไม่ต้องมีคำอธิบายอะไรมาก ยกเว้นเสียแต่ว่าคุณไม่รู้ว่าทางเสียหายคืออะไร ก็อาจจะหลงเดินตามไป แต่ถ้ารู้แล้วยังเดินตาม ก็เตรียมรับกรรมกันไปก็แล้วกัน

          เรื่องของ มิตรแท้มิตรเทียม นี้เป็นสิ่งที่เจอะเจออยู่แล้วในชีวิตประจำวัน เพียงแต่ไม่ทันคิดให้ละเอียดกันเท่านั้น